ufabet

แนวทางการทำธุรกิจจากเกษตรกรรมไทย ๆ สู่ตลาดโลก

เนื่องจากบทความฉบับนี้ค่อนข้างพิเศษและยาว ผมจะขอแบ่งเป็น 2 ตอนนะครับ การเขียนบทความนี้เริ่มต้นจากที่ผมได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเดินทางสู่มหาวิทยาลัยคอร์แนล

ด้วยความอนุเคราะห์จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในหัวข้อ Food & Agriculture Innovation โดยมหาวิทยาลัยคอร์แนล ที่ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลกในเรื่องนวัตกรรมอาหาร นวัตกรรมการเกษตร มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้าว ข้าวโพด มัน ยาง นม ชีส ดิน ชลประทาน การจัดการเมล็ดพันธุ์ ไม่เป็นสองรองใคร ผมไม่อยากให้ทริปนี้เสียเปล่า จึงขอถือโอกาสอันดีที่จะนำความรู้มาเผยแพร่ให้กับเพื่อน ๆ ชาวกรุงศรีกูรูได้อ่านกัน ใครอยากทราบว่าเทรนด์สุขภาพที่อเมริกาอันไหนมาแรง ต้องอ่าน เทรนด์ Social enterprise ยี่ห้อไหนมาแรง ต้องอ่าน ใครสนใจโลกของ Start-up ต้องอ่าน ใครอยากส่งสินค้าไปอเมริกามีขั้นตอนอย่างไร ยิ่งต้องอ่านครับ

วัตถุประสงค์ของโครงการ Study Mission กับมหาวิทยาลัยคอร์แนล ณ มลรัฐนิวยอร์ค ในครั้งนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนานวัตกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจของภาคเกษตรและอาหาร ซึ่งจะเน้นตัวอย่างที่ดี (Best Practice) จากเครือข่ายของมหาวิทยาลัยคอร์แนล อาทิ คณาจารย์ นักเรียน สถาบัน Institute of Food Science ศูนย์นวัตกรรม The Center for Technology ศูนย์ค้าปลีก ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ เป็นต้น

ศาสตราจารย์ Ralph Christy หัวหน้าทีมจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล เริ่มอภิปรายโดยการใช้กรอบ Framework เพื่ออธิบาย Cluster ของอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยแบ่งเป็นฝั่งอุปทาน และฝั่งอุปสงค์ โดยให้นัยสำคัญในการวางน้ำหนักลงที่ฝั่งอุปสงค์ของอุตสาหกรรมอาหารในโครงการนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงนวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขัน อันเกิดจากการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ยังไม่เห็นในท้องตลาด (Unmet needs)

ufabet

ผู้เข้าร่วมแต่ละคนต้องยกตัวอย่างประเด็นขององค์กรของตัวเองมาอยู่ในจุดใดของ Framework และต้องการจะก้าวไปสู่จุดไหนของ Framework

ในอนาคตเพราะเหตุใด การฝึกให้คิดเช่นนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมตระหนักคิดถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยการเชื่อมจุดอ่อน จุดแข็ง เข้ากับโอกาส กับความเสี่ยง คล้าย ๆ กับการทำ SWOT Analysis นั่นเอง

ยกตัวอย่างในกรณีของบริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรำข้าวรายใหญ่ของประเทศไทย มีปณิธานที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับรำข้าวไทยที่ถูกละเลยว่าเป็นเพียงอาหารสัตว์หรือปุ๋ยมาเพิ่มมูลค่าต่อยอดเป็นน้ำมันพืช น้ำมันเครื่องสำอาง

กระทั่งการสกัดเอาสารต้านอนุมูลอิสระจาก “โอไรซานอล” ที่ใช้ในการแพทย์เพื่อลดคลอเลสเตอรอล ซึ่งสารชนิดนี้พบได้ในรำข้าวเท่านั้น ทำให้มูลค่าของสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 500 เท่า (รำข้าวกิโลกรัมละ 10 บาท โอไรซานอลสกัดบริสุทธิ์นำเข้าจากญี่ปุ่น กิโลกรัมละ 5,000 บาท : ข้อมูลปี 2557) ประเทศไทยได้เปรียบเรื่องวัตถุดิบอันเป็นผลพลอยได้จากความแข็งแกร่งในด้านพื้นฐานของอุตสาหกรรมข้าว

แต่ขาดเทคโนโลยีต่าง ๆ ของประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น เยอรมัน และอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกาที่เป็นผู้นำด้านถั่วเหลือง ข้าวโพด และคาโนล่า จึงมีองค์ความรู้ด้านศาสตร์ของไขมัน (Lipid Science) เป็นอย่างมาก โดยมหาวิทยาลัยคอร์แนล และมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างสูง


อ่านบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ xxlyachts.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated