ufabet

“ตะไคร้หอม” ภูมิปัญญาไทย ไล่ยุงอย่างปลอดภัย

ตะไคร้หอม ซึ่งเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นหอมตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ นำตะไคร้หอมทั้งต้น ประมาณ 4-5 ต้น มาทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันที่ระเหยออกมาจะช่วยไล่ยุงและแมลง ไม่ให้มารบกวน

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากกรมควบคุมโรค ว่าภูมิปัญญาไทยหรือสมุนไพรพื้นบ้านเป็นสิ่งที่มีคุณค่า หากสามารถนำมาใช้ป้องกัน หรือรักษาโรคจะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนมากมาย

โดยในช่วงฤดูฝนสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการไล่ยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม ซึ่งเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นหอมตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่า เล็กน้อย ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตกเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณไล่ยุงและแมลง ไม่เป็นพิษต่อคน

การใช้ตะไคร้หอมเพื่อไล่ยุงและแมลง สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันตะไคร้หอม ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุง หรือ นำตะไคร้หอมทั้งต้น ประมาณ 4-5 ต้น มาทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันที่ระเหยออกมาจะช่วยไล่ยุงและแมลง ไม่ให้มารบกวน หรือนำถุงใส่ตะไคร้หอมวางบริเวณที่อับ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ จะไล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14 % พบว่า มีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ ดังนั้น ตะไคร้หอม จึงเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ ควรปลูกไว้ทุกบ้านเพื่อป้องกันยุงและไล่แมลง เช่นเดียวกับที่ควรมียาสามัญประจำบ้าน เพราะสามารถหาได้ง่าย ราคาไม่แพง เป็นการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อป้องกันและควบคุมโรคได้อีกด้วย

ufabet

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นแตกจากเหง้าใต้ดินเป็นกอ ลำต้นเป็นข้อๆ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาวกว่าตะไคร้บ้าน ลักษณะของใบกว้าง 5-20 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร แผ่นใบแคบ ยาว และนิ่มกว่าตะไคร้บ้าน มีสีเขียว ผิวเกลี้ยง และมีกลิ่นหอมเอียน ปลายใบห้อยลงปรกดิน ก้านใบเป็นกาบซ้อนกันแน่นสีเขียวปนม่วงแดง ต้นและใบมีกลิ่นฉุนจนรับประทานเป็นอาหารไม่ได้ ดอกออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอด ชูก้านช่อดอกยาวออกมาจากส่วนกลางต้น มีช่อดอกใหญ่ ยาวประมาณ 2 เมตร แยกออกเป็นแขนง เป็นช่อฝอย แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยสีน้ำตาลแดง เป็นพืชที่ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณ    

หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ราก ลำต้น และใบ เข้ายากับใบหนาด ใบเปล้าใหญ่ และเครือสัมลม แก้วิงเวียน ใบ คั้นเอาน้ำ ช่วยไล่ยุง

ตำรายาไทย  ใช้  เหง้า เป็นยาบีบมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้ คนมีครรภ์ห้ามรับประทาน ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้แผลในปาก แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้ แก้อาเจียน แก้ริดสีดวงตา แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ เหง้า ใบ และกาบ นำมากลั่นได้น้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นเครื่องหอม เช่น สบู่ หรือพ่นทาผิวหนังกันยุง แมลง ทั้งต้น มีรสปร่า ร้อนขม แก้ริดสีดวงในปาก ขับโลหิต ทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้ง ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง


อ่านบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ xxlyachts.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated